กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (อังกฤษ: Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า formic ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามด
ประวัติการค้นพบ
เมื่อปี พ.ศ. 2214 จอห์น เรย์ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรกที่ทราบถึงการสกัดกรดฟอร์มิก โดยการกลั่นมดจำนวนมาก ต่อมาโฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์กรดฟอร์มิกจากกรดไซยานิก และต่อมา Marcellin Berthelot นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบวิธีสังเคราะห์จากคาร์บอนมอนอกไซด์ และใช้วิธีนี้มาจนปัจจุบัน
กรดฟอร์มิก: ใช้ในอุตสาหกรรม
-สารตัวกลางสำหรับการทำความสะอาด ฟอก หรือการเตรียมกรด
-น้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ล้างสิ่งติดตั้งทางอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
-สารเติมแต่งสำหรับจารบี,
-ส่วนผสมของยารักษาโรคไขข้อหรือยาตีบตัน
-สารเติมแต่งสำหรับอาหารสัตว์และสารฆ่าเชื้อรา
-ส่วนผสมของเครื่องสำอางสำหรับการดูแลร่างกายและการฟื้นฟู
ใช้ในกระบวนการจับตัวของยางพารา ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมสีผ้าและฟอกหนังและใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ขนาด 25kg