รายละเอียดทั่วไป
ซิงค์ออกไซด์หรือสังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide) เป็นสารอนินทรีย์ที่นำมาใช้ปกป้องและรักษาผิวหนังมานานนับศตวรรษ ในช่วงสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกามอบสังกะสีออกไซด์ให้แก่นักบินสำหรับใช้ป้องกันการถูกแดดเผากรณีที่รอดชีวิตจากเครื่องบินตก นอกจากนี้ในกลุ่มนักเทนนิสและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามสระน้ำจะใช้สังกะสีออกไซด์ทาจมูกและริมฝีปาก อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นการใช้สังกะสีออกไซด์ยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากคนทั่วไปรู้จักครีมกันแดดที่ผลิตจากโมเลกุลของสารอินทรีย์ (Organic Molecules) โดยเฉพาะการใช้กรด Para-Amino Benzoic Acid [PABA] ช่วยดูดซับรังสีจากแสงอาทิตย์ แต่ได้เสื่อมความนิยมในระยะต่อมา
ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) เป็นสารประกอบที่เป็นผลึกไม่มีสี และเมื่อนำซิงค์ออกไซด์ไปอบ มันจะกลายเป็นสีเหลืองแต่ไม่ละลาย มันจะละลายได้ก็ต่อเมื่อผ่านอุณหภูมิที่สูงกว่า 1,800°C เลยทีเดียว ซิงค์ออกไซด์เป็นสารแอมโฟเทอริกที่ทำละลายในกรด อาทิ เกลือซิงค์ อัลคาไลน์ และสารละลายในน้ำอย่างแอมโมเนีย เป็นต้น
สารอนินทรีย์ (Inorganic Chemicals) ที่ใช้ในการผลิตครีมกันแดดมีหลายชนิด ได้แก่ สังกะสีออกไซด์ ไททาเนียมไดออกไซด์ และไอออนออกไซด์ สารอนินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดแล้ว ยังมีข้อดีที่แตกต่างจากสารอินทรีย์ก็คือไม่ซึมเข้าสู่ผิวหนังจึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ในจำนวนสารอนินทรีย์เหล่านี้ สังกะสีออกไซด์ถือว่ามีความปลอดภัยและใช้งานได้นานที่สุด
ครีมกันแดดหลายยี่ห้อ มักโฆษณาว่าสามารถป้องกันได้ทั้ง UVB และ UVA โดย UVB เป็นรังสีที่ทำให้ผิวไหม้เกรียม ขณะที่ UVA จะทำให้ผิวเหี่ยวย่น ตกกระและมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งรังสีทั้งสองชนิดนี้เป็นรังสีอุลตราไวโอเล็ตที่มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง การพัฒนาครีมกันแดดในอดีตมักมุ่งหยุดอาการผิวไหม้ (sunburn) ซึ่งเกิดจากรังสี UVB เท่านั้น โดยผู้บริโภคที่ใช้ครีมกันแดดประเภทนี้ เมื่อไม่มีอาการผิวไหม้ซึ่งเป็นการเตือนภัยของร่างกายกรณีที่ได้รับรังสี UVB มากเกินไป ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่เป็นไรถ้าจะอยู่กลางแสงแดดต่อไปเป็นเวลานานๆ จึงเปิดโอกาสให้ร่างกายได้รับรังสี UVA มากเกินไป กรณีเช่นนี้เป็นคำอธิบายอย่างหนึ่งถึงสาเหตุที่ปริมาณการเกิดมะเร็งผิวหนังเพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าสังกะสีออกไซด์จะสามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB สมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของครีมกันแดดทุกยี่ห้อ เนื่องจากการค้นพบประสิทธิภาพของสังกะสีออกไซด์เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้จึงยังไม่แพร่หลาย และผู้บริโภคยังฝังใจกับครีมกันแดดที่ทำจากสารอินทรีย์ที่มีการโฆษณามานาน สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ สังกะสีออกไซด์จะกลายเป็นสีขาวเมื่อใช้ในปริมาณมากๆ ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องสำอางจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องปริมาณสังกะสีออกไซด์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหานี้ต่อไป
ครีมกันแดดที่มีสังกะสีออกไซด์เป็นส่วนผสมหลักเริ่มออกวางตลาดเมื่อไม่กี่ปีมานี้ บางครั้งสังกะสีออกไซด์ก็เป็นเพียงส่วนผสมเดียวของครีมกันแดด แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกนำไปผสมร่วมกับสารอินทรีย์อื่นด้วย คาดว่าในอนาคต จะมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่มีส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์ออกวางตลาดมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มสูงว่าสารปกป้องผิวจากแสงแดดจะนำมาใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ถนอมผิวอื่นๆ เช่น มอยส์เจอร์ไรเซอร์ หากเป็นเช่นนี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ส่วนผสม เช่น สังกะสีออกไซด์ ที่มีทั้งประสิทธิภาพและไม่ระคายเคืองต่อผิว
ซิงค์ออกไซด์ถูกนำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาเคมีในอุตสาหกรรมยาง เช่น ยางคลอโรพรีน (chloroprene rubber) และใช้ในการผลิตน้ำหอม, เครื่องสำอาง, ยา เป็นต้น นอกจากนี้ซิงค์ออกไซด์ยังถูกนำมาใช้ในการผลิตเม็ดสีและเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการสังเคราะห์เมทานอลในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ ด้วยZinc Oxide หรือเรียกสั้นๆว่าซิงค์ เป็นสารธรรมชาติที่อยู่ในผิวโลก ฮิตกันมากในวงการแพทย์เพราะมีคุณสมบัติเจ๋งๆมากมาย เช่น
ประโยชน์ด้านต่างๆ
ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV
ช่วยปกป้องและระงับการระคายเคืองของผิวหนัง
ปกป้องผิวจากความร้อนและความเปียกชื้น
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคแบบอ่อนๆ
ช่วยลด ผด ผื่น ลมพิษ
เหมาะที่จะใช้เป็นสารกันแดดสำหรับผิวแพ้ง่าย
ข้อมูลสินค้า
ชื่อทั่วไป : ซิงค์ออกไซด์, Zinc Oxide, สังกะสีออกไซด์
แหล่งผลิตสินค้า : จีน (China)
เหมาะสำหรับ
Zinc oxide เริ่มถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักของครีมกันแดด เพราะเป็นสารธรรมชาติที่ปลอดภัยที่สุดและกันแดด กันน้ำได้ดีที่สุด
ซิงค์จะทำหน้าที่ฉาบเป็นชั้นปกคลุม ปกป้องผิวหนังของพวกเราจากรังสี UVA ที่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น หรือทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และ รังสี UVB ที่ทำลายผิวหนังก่อให้เกิดอาการผิวแสบไหม้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากครีมกันแดดสูตรสารเคมี (chemical sunscreen) ที่จะมีอนุภาคของสารเคมีหลายชนิดสามารถซึมผ่านผิวหนัง เกิดการสะสมภายในร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้มากมาย แล้วส่งผลเสียต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนใหญ่ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ Zinc Oxide เป็นส่วนประกอบหลัก จะเห็นว่าผิวของเรามีชั้นขาวๆบางๆปกคลุมอยู่ เพราะZinc Oxide นั้นได้ทำหน้าที่เคลือบผิวของเราไว้ไม่ให้รังสี UV ตกลงมาถึงผิวโดยตรง ต่างจากครีมกันแดดสูตรเคมีที่ทาแล้วจะซึมหายไปบนผิวหนัง เพราะมันได้ซึมเข้าสู่ร่างกายไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ยังมีสารอีกตัวนึงที่นิยมนำมาใช้คู่กันกับ Zinc Oxide ในครีมกันแดด นั่นคือ Titanium Dioxide เป็นสารธรรมชาติเหมือนกัน Titanium Dioxide จะเข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถในการกันแดดให้กับ Zinc Oxide ในเรื่องการป้องกันรังสี UVAช่วงคลื่นสั้นที่ Zinc Oxide ป้องกันช่วงคลื่นนี้ได้น้อยกว่า เรียกว่าเป็นการเติมเต็มกันและกันช่วยเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบเลย